หลังการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า อยากกลับมาเล่นกีฬาได้อีกครั้ง ควรได้รับการฟื้นฟูการบาดเจ็บที่ดี

After anterior cruciate ligament (ACL) surgery

การฉีกขาดหรือการยืดของเอ็นไขว้หน้า (ACL) เป็นการบาดเจ็บที่พบบ่อยที่สุดของหัวเข่า และมักมีการบาดเจ็บของโครงสร้างอื่นๆร่วมด้วย เช่น กระดูกอ่อนข้อต่อ (articular cartilage), หมอนรองกระดูก (meniscus) หรือเอ็นอื่นๆ ผู้ได้รับการบาดเจ็บของ ACL มักจะเกิดความกังวลกับอาการเจ็บที่เกิดขึ้น หลายคนที่เคยได้รับการบาดเจ็บนี้ หลังเข้ารับการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า มีคำถามเกิดขึ้นว่า….

จะกลับมาเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่ชอบได้เหมือนเดิมไหม?

จะสามารถกลับไปวิ่งได้ไหม?

ผ่าเอ็นไขว้หน้ามาเมื่อไรถึงทำกายภาพบำบัดได้?

ผ่ามาได้ 1 เดือนควรทำท่าออกกำลังกายอะไร?

ผ่ามาได้ 3 เดือน งอเข่าไม่สุด แบบนี้เข่าติดมั้ย?

และคำถามอีกมากมายที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูเอ็นไขว้หน้า(ACL) ปัญหาเหล่านี้แก้ไขได้ด้วยการเข้ารับการออกกำลังกายฟื้นฟูการบาดเจ็บ ซึ่งเป็นสิ่งคัญที่จะทำให้หัวเข่ากลับมาแข็งแรงและใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้งในบทความนี้เบสท์อัพคลินิกได้รวมข้อมูลต่างๆ เพื่อตอบคำถามและคลายข้อสงสัยหลังผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า หรือ ACL ( Anterior Cruciate Ligament) ไว้ให้คุณแล้ว

ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า ต้องได้รับการฟื้นฟูอย่างไร

1-2 สัปดาห์แรก หลังผ่าเราจะเน้นลดบวม ยกขาสูง กระดกข้อเท้าขึ้นลงเพิ่มการไหลเวียนเลือด หากใครมีอาการบวมที่เข่าข้างที่ผ่าไม่ต้องตกใจ ในช่วงแรกจะมีอาการบวมซึ่งอาการบวมจะค่อยๆลดลง 2-3 เดือน แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ควรเพิ่มการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ควรฝึกเหยียดเข่าให้สุดตั้งแต่ในช่วงแรก ส่วนเรื่องการงอเข่าในช่วงแรกๆเราจะงอแทบไม่ค่อยได้ ให้ฝึกงอเข่าที่ได้ อาจจะมีเจ็บบ้าง

ช่วงเดือนแรกหลังผ่า เราจะฝึกให้ปล่อยไม้เท้าให้เร็วที่สุด ฝึกลงน้ำหนัก ออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าขา กล้ามเนื้อหลังขา กล้ามเนื้อรอบๆเข่า ฝึกย่องอเข่า ฝึกยืนขาเดียว หรือฝึกท่าออกกำลังกายต่างๆ ในมุมที่ทำไหวซึ่งนักกายภาพจะเป็นคนประเมินและแนะนำรายบุคคล ในขณะเดียวกันก็ยังควรฝึกเพิ่มมุมงอเข่าให้มากขึ้น

เดือนที่ 2 เราจะเริ่มฝึกเพิ่มความหนักของท่าออกกำลังกาย เช่น ฝึกย่อในมุมที่ลึกขึ้น ฝึกขึ้นบันไดฝึกลงบันได ฝึกเพิ่มความยากในการงอเข่า ฝึกย่องอเข่าใส่น้ำหนัก ฝึกกล้ามเนื้อสะโพกด้วยท่าออกกำลังกายต่างๆ แตกต่างตามความสามารถของแต่ละคน

เดือนที่ 3-4 เราจะเริ่มฝึกให้กล้ามเนื้อออกแรงได้เต็มที่มากขึ้น ท่าออกกำลังกายแต่ละท่าก็จะมีความหนักขึ้น เริ่มใส่น้ำหนักในท่าออกกำลังกายต่างๆ เริ่มฝึกกระโดดเบาๆ ตารางฝึกก็จะแตกต่างกันรายสัปดาห์

เดือนที่ 5-6 เริ่มฝึกทักษะทางกีฬามากขึ้น เริ่มจ๊อกกิ้งฝึกวิ่งได้แล้ว ตารางออกกำลังกายฟื้นฟูจะเข้มข้นแตกต่างกันตามบุคคล

ระหว่างการเข้าโปรแกรมการฟื้นฟู เราจะมีการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขา ทดสอบด้วยเครื่องวัดแรงเตะ เปรียบเทียบกับข้างที่ไม่ผ่า วัดแรงเตะทุกๆ 2 สัปดาห์ เพื่อปรับโปรแกรมให้หนักขึ้นตามเป้าหมายของผู้ที่เข้ารับการฟื้นฟู

เดือนที่ 7 ขึ้นไปประเมินความสามารถก่อนกลับไปเล่นกีฬา หากทดสอบแล้วยังไม่ผ่านก็ควรฝึกเพิ่มต่อเช่น ทักษะทางกีฬา ฝึกกระโดดเปลี่ยนทิศทาง วิ่งเปลี่ยนทิศทางเร็วๆ เป็นต้น

ปัจจัยที่ทำให้การฟื้นฟูไปได้ช้า มีอะไรบ้าง

1. ไม่กล้าเคลื่อนไหว ไม่กล้างอเข่าไม่กล้าเหยียดเข่า

หลายๆเคสมีอาการเข่าติด เนื่องจากในช่วงแรกหลังผ่าไม่กล้าที่จะขยับไม่งอไม่เหยียด เวลามาพบกายภาพก็จำเป็นต้องดัดเข่า แก้ไของศาที่ติดซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนานหากเข่าติดไปแล้ว คนไข้เองก็จะมีอาการเจ็บ ในขณะเดียวกันหากเราฟื้นฟูได้ดี ฝึกงอเหยียดตั้งแต่ช่วงแรกๆ ทำให้งานของนักกายภาพก็จะง่ายขึ้น สามารถฝึกให้คนไข้ทำท่าออกกำลังกายต่างๆได้เลยโดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่ององศาที่ติด มีการฟื้นฟูได้เร็ว สามารถเริ่มการฟื้นฟูในขั้นตอนอื่นๆได้เลย เช่น เริ่มฝึกย่อเข่าได้เลย ฝึกขึ้นลงบันไดได้เลย

2. ไม่กล้าลงน้ำหนัก เพราะเข่าบวมกลัวจะบวมเพิ่มขึ้น

ในเรื่องอาการการบวม เป็นปกติที่ช่วงแรกบางคนอาจจะบวมน้อย บางคนก็อาจจะมีบวมมาก ซึ่งโดยเฉลี่ย 2-3 เดือน กว่าอาการบวมนั้นจะลดลงหลายคนตกใจเมื่อเห็นเข่าบวมจึงไม่กล้าลงน้ำหนัก งอเจ็บ เหยียดไม่ได้ก็ไม่ลงน้ำหนัก ซึ่งทำให้การฟื้นฟูล่าช้า หลายเคสผ่านไป 2เดือน ยังติดไม้เท้าไม่กล้าลงน้ำหนัก หรือลงเดินแบบไม่เต็มที่ ในทางกลับกันหากคนไข้กล้าลงน้ำหนักในช่วงแรกๆหลังผ่าตัด จะทำให้การฟื้นฟูก้าวหน้าไวกว่าเคสอื่นๆ ในกรณีที่ผ่านไปหลายเดือนแล้วแต่ยังไม่กล้าลงน้ำหนักอาจจะต้องพูดคุยกันเพิ่มเติมเพื่อสร้างความมั่นใจ นักกายภาพเราจะอธิบายให้ฟังถึงวิธีการฟื้นฟูในแต่ละขั้นตอนและตั้งเป้าหมายด้วยกัน

แผลหลังการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า

ภาพ MRI แสดงโครงสร้างภายใน

ภาพX-ray แสดงโครงสร้างภายใน

คำถามที่พบบ่อย หลังผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า (ACL)

ผ่าตัดมาแล้วมีโอกาสขาดซ้ำหรือไม่

ตอบคำถาม : หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้หลายๆเคสต้องผ่าซ้ำหลายๆรอบ คือ การฟื้นฟูที่ไม่เพียงพอ เช่น ผ่ามาแล้ว 4 เดือน กลับไปเตะบอล, ผ่ามาแล้ว 1 ปี ฟื้นฟูไม่ดีกลับไปเล่นกีฬาแล้วขาดซ้ำ ดังนั้นขั้นตอนการฝึกการฟื้นฟูเราจึงจำเป็นต้องมีความหนัก เบสท์อัพคลินิกจะมีการทดสอบหลายอย่างเพื่อประเมิน เช่น การวัดแรงเตะ เปรียบเทียบกันของแรงทั้ง 2 ข้าง ควรแตกต่างกันไม่เกิน 10% การทดสอบกระโดดด้วยขาข้างเดียวต่อเนื่อง กระโดดเปลี่ยนทิศทาง กระโดดลงจากที่สูง เป็นต้น

นานแค่ไหนถึงกลับไปเล่นกีฬาได้

ตอบคำถาม : โดยเฉลี่ยคนทั่วไปที่สามารถกลับไปเล่นได้ หากมีการฟื้นฟูที่ดีพอ ประมาณเดือนที่ 7 ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น การเตรียมความพร้อมที่ดีก่อนผ่าตัด การวางโปรแกรมการฟื้นฟูที่ดีหลังผ่าตัด คนไข้ที่เบสท์อัพคลินิกหลายเคสที่มาฟื้นฟู ตั้งแต่หลังผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า (ACL) ในระยะแรก สามารถกลับไปวิ่งจ๊อกกิ้ง (Jogging) และกระโดดได้เดือนที่ 3 เริ่มกลับไปซ้อมบาสได้เดือนที่ 6 ทั้งนี้ขึ้นกับกีฬาและปัจจัยของแต่ละคนอีกด้วย

มาพบนักกายภาพจะต้องทำอะไรบ้าง

ตอบคำถาม : หลักๆ จะเป็นเรื่องของการฝึกออกกำลังกาย ฟื้นฟูร่างกายตามปัญหาที่ตรวจพบ เบสท์อัพคลินิกจะมีการตรวจประเมินก่อนว่าอยู่ระยะไหน ยังทำอะไรไม่ได้ ทำอะไรได้แล้ว และนักกายภาพของเราก็จะออกแบบตารางออกกำลังกายฟื้นฟูให้ โดยมีการปรับความหนักให้เข้ากับกิจกรรม ปรับตารางให้เหมาะกับรายบุคคล ซึ่งเราจะมีการปรับตารางทุกๆสัปดาห์ ตั้งเป้าหมายไว้ด้วยกัน ทดสอบแรงทุกๆ 2 สัปดาห์ และพูดคุยถึงปัญหาหรือสิ่งใดที่ยังควรต้องฝึกเพิ่มเติมอีกด้วย

หลังผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า เมื่อไรถึงทำกายภาพบำบัดได้

ตอบคำถาม : หลังผ่าตัดเอ็นไขว้หน้ามาแล้ว สามารถทำกายภาพบำบัดได้ตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดได้เลย หากได้การทำกายภาพบำบัดได้ตั้งแรกช่วงแรกหลังการผ่าตัด จะช่วยป้องกันเข่าติดได้ ป้องกันกล้ามเนื้อลีบได้ และมั่นใจในการลงน้ำหนักมากขึ้น

ผ่ามาหลายเดือนแล้วยังกระโดดไม่ได้เพราะอะไร

ตอบคำถาม : การเตรียมที่ดีก่อนผ่าตัด และเข้ารับโปรแกรมฟื้นฟูได้เร็วหลังผ่าตัด มีการวางโปรแกรมแต่ละสัปดาห์อย่างเข้มข้น เพื่อพัฒนาศักยภาพนักกีฬาในแต่ละชนิด หลายคนมีปัญหาไม่สามารถกลับไปเล่นกีฬาได้เหมือนเดิม การเพิ่มองศาการงอเข่าอาจไม่เพียงพอต่อการฟื้นฟู เพราะฉะนั้นการตรวจประเมินที่แม่นยำ นำไปสู่การวางแผนฟื้นฟูที่มีประสิทธิภาพ เพื่อเป้าหมายของคนไข้ เบสท์อัพคลินิกของเราพร้อมให้คำปรึกษาและช่วยฟื้นฟูให้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ใครที่ผ่าตัดเอ็นไหว้หน้า (ACL) มาแล้วยังไม่สามารถลงน้ำหนักได้เหมือนเดิม เข่ายังติด กลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่เหมือนเดิม สามารถปรึกษา Best up clinic เพิ่มเติมได้เลย ติดต่อนัดหมาย

เบสท์อัพ คลินิกกายภาพบำบัด  เมืองเอก รังสิต

“เราไม่ใช่แค่ลดปวด แต่เราพัฒนาคุณภาพการเคลื่อนไหว”

ปรึกษา นัดหมาย หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม Tel : 061 636 5950

ติดตามความรู้ต่างๆเรื่องสุขภาพกับเราได้ที่ :

ผู้เขียนบทความ

กภ. ภิษัชกานดา อาภรณ์พัฒนพงศ์

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

กายภาพบำบัดน่ารู้

รีวิวเคส “เจ็บและจบที่กายภาพ” รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัด

รักษาอาการเจ็บสะโพก ด้วยการทำกายภาพบำบัด - หญิงไทยมีอาการปวดที่บริเวณสะโพก ด้านข้างลึกๆ

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

รู้หรือไม่ นักกายภาพบำบัด เป็นมากกว่าแค่รักษาอาหารปวด

“คนทั่วไปอาจจะเข้าใจว่า….นักกายภาพบำบัด รักษาแต่อาการบาดเจ็บ”

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

นั่งยองไม่ได้ เพราะน่องตึงหรือเปล่า

น่องตึงกันหรือเปล่า นั่งยองไม่ได้เพราะน่องตึงจริงหรือเปล่า เบสท์อัพคลินิก กายภาพบำบัด มีคำตอบมาดูกัน!!

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

4 เหตุผลที่อาจทำให้คุณยกแขนขึ้นได้ไม่สุด

ยกแขนขึ้นไม่สุด เพราะอะไร กดอ่านเลย เบสท์อัพ คลินิกกายภาพบำบัด มาบอก 4 เหตุผลที่อาจทำให้คุณยกแขนขึ้นได้ไม่สุด

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

5 คำถามที่พบบ่อยหลังผ่าเอ็นไขว์หน้า (ACL)

หลังผ่าเอ็นไขว์หน้า (ACL) ไม่รู้จะกายภาพที่ไหน มาที่ Bestup clinic นะคะ เรามีคำตอบให้คุณได้ 5 คำถามที่พบบ่อยหลังผ่าเอ็นไขว์หน้า (ACL)

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

ใครเป็นตะคริวบ้างงยกมือขึ้น!!

Bestup clinic นำเสนอออออ ใครเป็นตะคริวบ้างงยกมือขึ้นนนน มาตอบคำถาม 3 ข้อ ที่หลายคนเข้าใจผิดกัน

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

หลังการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า อยากกลับมาเล่นกีฬาได้อีกครั้ง ควรได้รับการฟื้นฟูการบาดเจ็บที่ดี

จะกลับมาเล่นกีฬาหรือทำกิจกรรมที่ชอบได้เหมือนเดิมไหม หลังการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า ACL มาเมื่อไรถึงทำกายภาพบำบัดได้ หาคำตอบได้ที่ best up clinic

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

ITB (friction syndrome) โรคฮิตในนักวิ่ง

เจ็บข้างเข่าด้านนอก เป็นโรคฮิตในนักวิ่ง หรือที่เรียกอีกชื่อว่า ITB (friction syndrome) ITB เป็นเยื่อเส้นเอ็นที่เหนียวแน่น จึงไม่เรียกว่าเป็นกล้ามเนื้อ

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

Tennis elbow ไม่ตีเทนนิสก็เจ็บได้

เจ็บข้อศอกเกิดจากอะไรได้บ้าง มาดูกัน!! Tennis elbow อาการปวดบริเวณข้อศอกด้านนอก รู้หรือไม่?? ไม่ตีเทนนิสก็เจ็บข้อศอกได้

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

เรื่องเล่าจากนักกายภาพ “อวัยวะใดปวดบ่อยที่สุด”

อวัยวะใดปวดบ่อยที่สุด นักกายภาพบำบัดมีคำตอบ มาดูกัน!!

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

ใครเจ็บหลังข้อพับบ่อยๆต้องดู

ใครเคยเจ็บหลังข้อพับบ้าง มาทางนี้ เบสท์อัพคลินิกกายภาพบำบัด ช่วยมารู้จักกับกล้ามเนื้อหลังข้อศอก Popliteus m. ตัวการของอาการเจ็บกันค่ะ

อ่านเพิ่มเติม

กายภาพบำบัดน่ารู้

เราจะพบนักกายภาพบำบัดตอนไหน?

ตอนไหนได้บ้างนะ... ถ้าปวดแล้วไม่หาย มาให้ เบส์ทอัพคลินิกดูแลนะคะ ไม่ใช่แค่ลดปวด แต่ยังพัฒนาคุณภาพการเคลื่อนไหวอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม